NETBAY (เน็ตเบย์)


บริษัท เน็ตเบย์ จำกัด (มหาชน) ให้บริการธุรกรรมออนไลน์ (e-Business) แบ่งเป็น 

(1) กลุ่มบริการ e-Logistics Trading : การให้บริการพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (e-Customs Paperless), การให้บริการชำระค่าภาษีอากรทางอิเล็กทรอนิกส์ และ การให้บริการระบบรายงานบัญชีสินค้าเข้า/ออกแบบไร้เอกสาร เป็นต้น
(2) กลุ่มบริการ e-Business Services : ระบบการให้บริการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า (Customer Due Diligence Gateway) และระบบการให้บริการบริหารจัดการข้อมูลเพื่อส่งรายงานธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (สำหรับสถาบันการเงิน) 
(3) Projects และอื่นๆ

จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (MAI) ในกลุ่มเทคโนโลยี/เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท จำนวน 200 ล้านหุ้น เข้าซื้อขายเมื่อ 16 มิถุนายน 2559


วีดีโอแนะนำ NETBAY

ลักษณะการประกอบธุรกิจ

เน็ตเบย์  เกิดจากการร่วมทุนระหว่างกลุ่มผู้ถือหุ้นและผู้บริหารของบริษัท ซอฟท์แวร์ลิ้งค์ จำกัด (“ซอฟท์แวร์ลิ้งค์”)  ซึ่งเป็นบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์เกี่ยวกับธุรกรรมออนไลน์ (e-Business) และบริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน) (“INET”)  ซึ่งเป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตรายแรกของประเทศไทย  เพื่อประกอบธุรกิจพัฒนาผลิตภัณฑ์และให้บริการธุรกรรมออนไลน์ (e-Business) ที่ครบวงจรระหว่างภาคธุรกิจและภาครัฐ (B2G) ระหว่างภาคธุรกิจและภาคธุรกิจ (B2B) และระหว่างภาครัฐและประชาชน (G2C)

บริษัทประกอบธุรกิจหลักเป็นผู้พัฒนาผลิตภัณฑ์ในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Business) และนำเสนอผลิตภัณฑ์นั้นแก่ผู้ใช้ในรูปแบบการให้บริการ (SaaS: Software as a Service) อย่างครบวงจรระหว่างภาคธุรกิจและภาครัฐ (B2G) ระหว่างภาคธุรกิจและภาคธุรกิจ (B2B) และระหว่างภาคเอกชนและประชาชนหรือผู้บริโภค (B2C) โดยผู้ประกอบการที่ใช้บริการระบบธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของบริษัทจะได้รับประโยชน์สูงสุดจากการใช้บริการของบริษัทตามวิสัยทัศน์ของบริษัท คือ Better Faster Cheaper และบริษัทจะเรียกเก็บค่าบริการต่อรายการธุรกรรม (Per Transactaion) หรือเป็นรายเดือน (Monthly Fee)

ระบบธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์  ที่บริษัทนำเสนอในรูปแบบการให้บริการแก่หน่วยงานต่างๆ เป็นไปในรูปแบบ SaaS (Software as a Service) อย่างเต็มรูปแบบ กล่าวคือการให้บริการที่ครอบคลุมตั้งแต่ระบบศูนย์ประมวลผล (Data Center) ระบบศูนย์ประมวลผลสำรอง (Disaster Recovery Center) ระบบซอฟต์แวร์ปฏิบัติการที่ใช้รองรับระบบธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (Platform as a Service) ที่บริษัทได้พัฒนาขึ้น ระบบธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ระบบเครือข่าย และการป้องกันความปลอดภัยของข้อมูล เป็นต้น จึงเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้หน่วยงานต่างๆ สามารถเข้าถึงการบริการระบบสารสนเทศโดยไม่จำเป็นต้องมีงบลงทุนที่สูง (Cheaper) มีระบบงานที่สามารถใช้งานได้ในเวลาอันรวดเร็ว (Faster) ไม่ต้องเสียเวลา เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และลดความยุ่งยาก (Better) ของหน่วยงานในการจัดหาระบบงาน ออกแบบระบบงาน พัฒนา ติดตั้ง และบำรุงรักษา

บริการของบริษัทจัดเป็นเครื่องมือทาง Logistics ที่สำคัญที่ช่วยให้ระบบการทำงานภายในองค์กรของลูกค้าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว เชื่อมโยงถึงกันและลดการใช้งานทรัพยากรบุคคลที่มีต้นทุนที่สูงและมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นได้ง่าย จึงถือเป็นบริการที่มีส่วนช่วยในการลดต้นทุนทาง Logistics ให้กับลูกค้า และช่วยสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับลูกค้าและประเทศไทย เนื่องจากระบบธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ที่บริษัทพัฒนา และนำเสนอให้แก่ลูกค้า เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับลูกค้าในการดำเนินธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้องตามกฎหมาย  จึงทำให้บริษัทมีรายได้เป็นประจำจากการให้บริการอย่างต่อเนื่อง (Recurring Revenue) นอกจากนั้นแล้วบริษัทไม่ต้องมีภาระต้นทุนในสินค้าคงคลัง (Carrying Cost of Inventory) และค่าใช้จ่ายในการกระจายสินค้า หรือผลิตภัณฑ์ของบริษัทไปยังลูกค้าต่างๆ

การให้บริการธุรกรรมออนไลน์
  1. e-Logistics Trading
    >> 
    การให้บริการพิธีการศุลกากรทางอิเล็คทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (e-customs paperless)
    >> 
    การให้บริการชำระค่าภาษีอากรทางอิเล็คทรอนิกส์ (customs e-Payment)
    >> 
    การใช้บริการระบบรายงานบัญชีสินค้าเข้า/ออกแบบไร้เอกสาร (e-Msnifest)
    >> 
    การให้บริการระบบผ่านพิธีศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์สำหรับของเร่งด่วน (e-Express)
  2. e-Business Services
    >> 
    ระบบการให้บริการการบริหารจัดการข้อมูลเพื่อส่งรายงานธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (สำหรับสถาบันการเงินหรือ ETR Gateway (Electronic Transaction Reporting Gateway)
    >> 
    ระบบการให้บริการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า หรือ CDD Gateway (Customer Due Diligence Gateway)
  3. Other projects เป็นการพัฒนาระบบงานสารสนเทศภายในให้แก่ลูกค้าหรือหน่วยงานนั้นๆ ในรูปแบบของโครงการเฉพาะ (Projects)


งบการเงิน

สินทรัพย์ หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น



กราฟแท่งแสดงข้อมูลมากจากตารางงบดุลด้านบนในส่วนของสินทรัพย์
สินทรัพย์
•  สินทรัพย์ส่วนใหญเป็นเงินสดและเทียบเท่าเงินสด เงินลงทุนชั่วคราวที่เป็นเงินลงทุนในกองทุนและตราสารหนี้(ตามหมายเหตุงบประกอบการเงิน) ซึ่งในปี 2559 เพิ่มขึ้นมาเยอะ เพราะได้รับเงินเพิ่มทุนจาก IPO
•  ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่นจะให้เครดิตเทอมประมาณ​ 30 - 60 วัน


•  เงินลงทุนระยาวอื่น เป็นเงินลงทุนในตราสารหนี้ระยะยาว

หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น
• เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น


•  หนี้สินหมุนเวียนและไม่หมุนเวียน   เป็นหนี้ที่ไม่มีภาระดอกเบี้ย        ซึ่งแสดงว่า บริษัทไม่มีหนี้เลย  DE ratio = 0
•  ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่  เป็นส่วนทุนจดทะเบียนและส่วนเกินทุน ซึ่งเพิ่มขึ้นมาเยอะในปี 2559 เพราะได้รับเงินเพิ่มทุนจาก IPO และตัวบริษัทเองใช้เงินลงทุนที่ต่ำมาก เลยมีเงินสดเหลือเยอะ

กำไรขาดทุนในแต่ปี และรายไตรมาส




•  รายได้ส่วนใหญ่เป็นรายได้ประจำ (recurring income) ประมาณ 95% ดังนั้นรายได้จะโตสม่ำเสมอเมื่อมีฐานลูกค้ามากขึ้น
•  ต้นทุนการให้บริการและ ค่าใช้จ่ายในการให้บริการส่วนใหญ่เป็นเงินเดือน ค่าแรงและผลประโยชน์พนักงาน ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย ค่าเช่าจ่าย ตามตารางข้างล่างซึ่งส่วนใหญ่เป็นค่าใช้จ่ายคงที่ นั้น  แสดงว่าเมื่อรายได้เพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้กำไรสุทธิเพิ่มขึ้นด้วยอัตราเร่งที่มากกว่ารายได้เพิ่ม สังเกตได้จากตารางข้างบน ที่งบกำไรขาดทุน เช่นรอบเก้าเดือน 2560 รายได้จากการให้บริการเพิ่ม 13.3% แต่กำไรเพิ่ม 26%  ถึงแม้ต้นทุนการให้บริการจะเพิ่มขึ้น 23%  ซึ่งอาจจะเป็นเพราะการเพิ่มจำนวน บุคคลากรเพื่อรองรับการขยายงาน

ข้อมูลจากหมายเหตุงบการเงินสิ้นปี 2558 และ 2559

กระแสเงินสด


ค่าเสื่อมและค่าตัดจำหน่ายน้อยมาก เพราะลักษณะธุรกิจเป็นงานพัฒนาผลิตภัณฑ์การให้บริการในรูปแบบ SaaS: Software As A Services และ office เป็นที่เช่าก็จะมีค่าใช้จ่ายจากการเช่าจ่ายแทน และค่าเสื่อมเพียงเล็กน้อยจากอุปกรณ์

อัตราส่วนทางการเงิน


•  วงจรกระแสเงินสด(cash cycle) = ระยะเวลาการเก็บลูกหนี้ - ระยะเวลาการจ่ายเจ้าหนี้ ไม่คิดระยะเวลาการขายสินค้าเพราะในธุรกิจนี้มีสินค้าคงเหลือน้อยมาก
•  DE ratio คิดเฉพาะหนี้สินที่มีดอกเบี้ยเท่านั้น  จะเห็นว่าบริษัทไม่มีหนี้ที่ต้องจ่ายดอกเบี้ยเลย

ปัจจัยความเสี่ยง


  1. ความเสี่ยงด้านการแข่งขัน ธุรกิจหลักของบริษัท คือ การให้บริการพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์ซึ่ง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559  มีผู้เชื่อมต่อกับระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร (Gateway) ทั้งสิ้น 3 รายรวมทั้งมีผู้ให้บริการรับส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (VANs) ทั้งสิ้น 17 ราย (อ้างอิงจากเวปไซต์ของ Thailand National Single Window) ซึ่งให้บริการในรูปแบบที่คล้ายคลึงกันและเนื่องจากหน่วยงานราชการไม่ได้ให้สัมปทานแก้ผู้ประกอบการดังกล่าวส่งผลให้อนาคตอาจมีผู้ประกอบการรายใหม่ที่สามารถทำตามข้อกำหนดของหน่วยราชการเข้ามาให้บริการเป็นผู้เชื่อมต่อกับระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร (Gateway) หรือเป็นผู้ให้บริการรับส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (VANs) เพิ่มเติมซึ่งอาจเกิดการแข่งขันทางด้านราคา บริษัทมีจุดแข็งคือบริษัทเป็นผู้ให้บริการครบวงจรเพียงรายเดียว ที่เป็นผู้เชื่อมต่อกับระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร (Gateway) และเป็นผู้ให้บริการรับส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (VANs) กับลูกค้าผู้ขนส่งสินค้าทำให้บริษัทมีความได้เปรียบทางการแข่งขัน
  2. ความเสี่ยงจากการที่หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องเพิกถอนการอนุญาตที่จำเป็น ในปัจจุบันบริษัทได้รับการอนุญาตต่างๆ จากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับ เช่นกรมศุลกากรสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยและธนาคารพาณิชย์ เป็นต้น
  3. ความเสี่ยงจากรายได้หลักของบริษัทมาจากการให้บริการพิธีศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (e-customs Paperless) อย่างไรก็ดี บริการผ่านพีธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร ยังมีโอกาสเติบโตในอนาคต เพราะปริมาณการนำเข้าและส่งออกเพิ่มขึ้นในอนาคต หากการขยายตัวของเศรษฐกิจและการเปิดประชาคมอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC)  โดยบริษัทมีความเป็นผู้นำการบริการและมีนโยบายการรักษาฐานลูกค้าเดิม รวมทั้งบริษัทมีนโยบายเพิ่มสัดส่วนรายได้จากบริการประเภทอื่น เช่น เริ่มให้บริการ ธุรกิจเป็นผู้เสนอให้บริการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า (CDD Gateway) และระบบการให้บริการการบริหารจัดการข้อมูลเพื่อส่งรายงานธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ETR Gateway)  ในปี 2556 และเปิด การให้บริการ e-DLT ภายในปี 2560
  4. ความเสี่ยงในการพึ่งพิงบุคคลากร ธุรกิจของบริษัทต้องอาศัยความรู้ความสามารถและความชำนาญเฉพาะทางของบุคคลากร ปัจจุบันบริษัทพึ่งพิงทีมวิศวกรคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะที่มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี ในการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งการสูญเสียบุคคลากรเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานในปี 2559 มีจํานวนพนักงานในทีมวิศวกรคอมพิวเตอร์ที่ลาออกทั้งหมด 1 คนจากทีมวิศวกรคอมพิวเตอร์ทั้งหมด 26 คน  สิ้นปี 2558 ซึ่งพนักงานที่ออกมีประสบการณ์น้อยกว่า 3 ปี 
  5. ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายของภาครัฐ ในปัจจุบันภาครัฐและเอกชนมีนโยบายสนับสนุนการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีความสะดวกสบายและลดค่าใช้จ่าย ลดความเสี่ยงจากเอกสารสูญหาย และมีความปลอดภัย รวมทั้งภาครัฐให้ความสำคัญเกี่ยวกับการป้องกันการฟอกเงิน โดยปกติหากภาครัฐจะเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างๆ จะแจ้งการเปลี่ยนแปลงก่อนการประกาศใช้นโยบายทำให้บริษัทมีเวลาในการปรับแผนการดำเนินงานให้สอดคล้องกับนโยบายใหม่
  6. ความเสี่ยงจากความมีเสถียรภาพของระบบการให้บริการ  บริษัทให้ความสำคัญกับปัจจัยนี้โดยมีระบบสํารองที่พร้อมจะทำงานทันทีที่ระบบหลักไม่สามารถให้บริการได้ และมีการตรวจสอบระบบให้มั่นใจว่าทำงานได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์เสมอ โดยมีทีมวิศวกรคอมพิวเตอร์ดูแลระบบตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งจากนโยบายดังกล่าวทำให้ระบบของเรามีความพร้อมในการให้บริการ 99.5% ของระยะเวลาการให้บริการทั้งหมด และบริษัทยังได้รับ ISO 27001 
  7. ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี บริษัทได้มุ่งเน้นที่จะก้าวทันเทคโนโลยีใหม่ๆ เสมอ โดยบริษัทมีนโยบายจัดอบรม เกี่ยวกับโปรแกรม หรือเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่างสม่ำเสมอ  รวมทั้งมีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาช่วยพัฒนาระบบเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า
  8. ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงรูปแบบรายการในการรับส่งข้อมูล (Schema) ของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ในอดีตบริษัทได้ให้บริการต่างๆผ่าน Client Base ทําให้เกิดความล้าช้าในการดำเนินงาน ในปัจจุบันบริษัทได้เปลี่ยนรูปแบบกํารให้บริการต่างๆ แก่ลูกค้าเป็น Web base ซึ่งหากหน่วยราชการเปลี่ยนแปลงรูปแบบรายการในการรับส่งข้อมูล บริษัทสามารถปรับปรุง software ให้แก่ลูกค้าทุกรายพร้อมกันโดยทันที
  9. ความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนของผลตอบแทนจากการประกอบธุรกิจใหม่ บริษัทมีแผนที่จะให้บริการประเภทใหม่คือ e-DLT ซึ่งเป็นระบบชำระภาษีรถยนต์ทางอิเล็กทรอนิกส์ ความสำเร็จขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง  ซึ่งอยู่เหนือการควบคุมของบริษัท แต่บริษัทได้มีการศึกษาความเป็นไปได้เป็นอย่างดี ซึ่งระบบนี้ทางบริษัทได้ร่วมพัฒนากับลูกค้าโดยตรงทำให้มั่นใจว่าบริการนี้จะมีฐานลูกค้าที่เข้ามาใช้อย่างแน่นอน
  10. ความเสี่ยงจากการให้เครดิตทางการค้าแก่ลูกค้า ลูกหนี้หลักของบริษัทเป็นผู้ประกอบธุรกิจขนส่งขนาดกลางและใหญ่ และธนาคารพาณิชย์ ปัจจุบันมีฐานลูกค้าอยู่ 500 ราย และบริษัทมีนโยบายให้เครดิตเทอม 30 - 60 วัน กับลูกค้า และมีเงื่อนไขการระงับการบริการหากลูกค้าไม่ชำระเงินตามกำหนด  
  11. ความเสี่ยงจากการมีผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่มีอำนาจกำหนดนโยบายการบริหาร ซึ่ง CEO คือนายพิชิต วิวัฒน์รุจิราพงศ์ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งบริษัท 








มัดต่อมัด HUMAN NETBAY COMAN

เว็บไซด์บริษํทสำหรับนักลงทุน
Fact Sheet from set.or.th
Company Snapshot

วีดีโอเกี่ยวกับ NETBAY:
Opportunity Day
Business Model part 1 31 August 59
Business Model part 2 31 August 59

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

PM (พรีเมียร์ มาร์เก็ตติ้ง)

HUMAN (ฮิวแมนนิก้า)