PM (พรีเมียร์ มาร์เก็ตติ้ง)

หุ้นใน set index
บริษัท พรีเมียร์ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน) จดทะเบียนใน set index อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรม เกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร หมวดธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ราคาพาร์ 1.00 บาทต่อหุ้น จำนวนหุ้น 598,245,300 หุ้น 




ลักษณะการประกอบธุรกิจ

1. ธุรกิจจัดจำหน่ายและเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้า
  • ขนมขบเคี้ยวตราทาโร (เป็นของบริษัทเอง), ตราคาลบี้ตราแจ็กซ์,ตราบันบัน,ตราคิกคิก,ตราชินมัยตราเดลิโอ เป็นคุกกี้ (เอสแอนด์พี), ตราจี๊ดจ๊าด (มะขาม), ตราโคโคริตราโอโตริ,ตราบิ๊กคาด้า
  • อาหารและเครื่องดื่มตราคิงส์คิทเช่น (เป็นของบริษัทเอง), ตราแม่จินต์ (กระเทียมดอง ของดองต่างๆตราบัดดี้ดีน (กาแฟ), ตราชอช้าง (วุ้นเส้น), ตราเมกาเซฟ (น้ำปลา ซีอิ้วขาว), ตราเซ็ปเป้ตราเพรียวตราซันซอส (น้ำจิ้มสุกี้ แลอื่นๆ)
  • ลูกอมตราโอเล่ตราคอริฟินซีตรา B-one, ตราช็อกโกบี้
  • ยาและอาหารเสริมส่วนใหญ่เป็นของโอสถสภา ตราแบนเนอร์โปรตีนตราโบตันตราโบตันมิ้นท์บอล
  • ผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนตัวและในครัวเรือนยาสีฟันตรา ดาร์ลี่พลาสเตอร์ตราเทนโซพล๊าสพลาสเตอร์ตราไทเกอร์พล๊าสแป้งสบู่และครีมอาบน้ำตรา ตาบูน้ำมันยูคาลิปตัสชนิดสเปรย์ตรา จิงโจ้ และ น้ำมันไฟแช็ค ตรารอนสัน นอกจากนี้ ยังมีสินค้าลูกอม “เจสัน จูจุ๊บ” รสแบล็ค เชอรรี่ และรสลิโคริช (ชะเอม)


2. ธุรกิจผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหาร

 PMF ผลิตปลาเส้น ปลาแผ่น และ ปลาอบกรอบ ตราทาโร ขายเองเป็นสินค้าของบริษัท
 PCI 
ผลิตปลาทูน่า และ อาหารทะเลสำเส็จรูป เป็น OEM และผลิตซอสตราคิงท์คิดเช่น ขายเองเป็นของบริษัท
 PFP 
ผลิตอาหารแช่แข็งสำเส็จรูป




แผนธุรกิจในอนาคต 
  1. ส่งออกไปจีน โดยการหา distributor ซึ่งตอนนี้หาได้แล้วกำลังอยู่ในช่วงการวางแผนการตลาดว่าสินค้าตัวไหนถูกใจคนจีน จากนั้นจะเริ่มส่งไปวางจำหน่ายใน Modern trade ก่อน คิดว่าจะเห็นความชัดเจนปี 2018
  2. ส่งออกซอสคิงท์คิดเช่นไปประเทศลาว ตอนนี้ออกโฆษณาตัวแรกโดยมี เชฟเต็งหนึ่ง เป็นพรีเซ็นเตอร์ 
  3. กำลังดูตลาดเวียดนาม และศึกษาสินค้าตัวที่คนเวียดนามชอบ จากการไปออกบูทที่เวียดนาม พบว่าคนเวียดนาม ชอบ ปลาอบกรอบรสโนริสาหร่าย 
  4. ส่งออกไปสิงคโปร์ รัสเซีย อินโดนีเชีย อยู่ระหว่างการคุยยังไม่มีสาระสำคัญ

โครงสร้างรายได้


งบการเงิน

งบแสดงสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของผู้ถือหุ้น

1. สินทรัพย์ส่วนใหญ่อยู่ในรูปของ เงินสดและเทียบเท่าเงินสด, เงินลงทุนชั่วคราวที่เป็นเงินฝากประจำและตราสารหนี้, ที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ ซึ่งสอดคล้องกับลักษณะธุรกิจ
2. เงินลงทุนระยาวเป็นตราสารหนี้ภาคเอกชนในประเทศ
3. สินทรัพย์ที่ใช้ในการดำเนินงานส่วนใหญ่ก็เป็นที่ดิน โรงงาน และเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตสินค้าซึ่งที่ดินโรงงาน บริษัทเป็นเจ้าของทั้งหมดตามตารางที่แสดงด้านล่าง

4. ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น มีจำนวนสัดส่วนค่อนข้างมาก เพราะลักษณะธุรกิจเป็นการผลิตและจำหน่ายสินค้าที่มีช่องทางการวางจำหน่วยในร้านสะดวกซื้อ  Modern trade และร้านค้าปลีก traditional trade ซึ่งทางบริษัทมีเครดิตเทอมให้ลูกค้าประมาณ 30-60 วัน ดังนั้นลักษณะธุรกิจแบบนี้เราต้องวิเคราะห์ลูกหนี้การค้า ตามตารางข้างล่าง 

 5. สินค้าคงเหลือ เป็นอีกสินทรัพย์ที่มีสัดส่วนเยอะซึ่งก็สอดคล้องกับลักษณะธุรกิจ และระยะเวลาการขายสินค้าเฉลี่ยอยู่ที่ 30 วัน ตามตารางในอัตราส่วนทางการเงิน
6. เจ้าหนี้การค้าเป็นหนี้สินที่มีสัดส่วนมากที่สุดในหนี้สินเป็นไปตามลักษณะของธุรกิจซึ่งคำนวณระยะเวลาการจ่ายหนี้โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 60 วัน ซึ่งสอดคล้องกับเครดิตที่ให้ลูกหนี้ 


งบกำไรขาดทุน

• อัตราการทำกำไรขั้นต้นค่อนข้างคงที่ประมาณ 28% 
• อัตรากำไรจากการดำเนินงานคงที่ประมาณ 12% 
• อัตรากำไรสุทธิคงที่ประมาณ 10%
• ค่าใช้จ่ายตามลักษณะตามแสดงในตารางข้างล่าง

งบกระแสเงินสด

กระแสเงินสดจากการดำเนินงานเป็นบวกตลอด 5ปี และมีการจ่ายปันผลสม่ำเสมอในอัตราที่สูง ดังนั้นกระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงินจึงเป็นลบ ส่วนกระแสเงินสดจากการลงทุนในรอบเก้าเดือน 2560 เป็นบวกเพราะมีการขายเงินลงทุนในบริษัทร่วมคือ บริษัท พรีเมียร์เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัด (มหาชน) ตัวย่อ PE ไปจำนวน 107 ล้านบาท

อัตราส่วนทางการเงิน

ดูสูตรการคำนวณอัตราส่วนต่างได้ที่ http://www.fishinvestor.com/p/financial-ratio.html

อัตราการจ่ายปันผล


ปัจจัยความเสี่ยง

1. ความเสี่ยงจากกำลังซื้อของผู้บริโภคในประเทศที่ชะลอตัวลงอันเนื่องมาจากปัญหาด้านเศรษฐกิจ
2. ความเสี่ยงจากการจัดจำหน่ายในช่องทางการค้าปลีกสมัยใหม่ ทำให้บทบาทและอำนาจในการต่อรองจากช่องทางดังกล่าวเพิ่มขึ้นและกลายเป็นปัจจัยเสี่ยงของการถูกเรียกร้องค่าใช้จ่ายหรือผลตอบแทนในอัตราสูง บริษัทได้ดำเนินแผนงานเพื่อกระจายสัดส่วนการขายของกลุ่มร้านค้าแต่ละประเภทในช่องทางร้านค้าปลีกสมัยใหม่ (Modern Trade) และสร้างสมดุลในกลุ่มร้านค้าแบบดั้งเดิม (Traditional Trade) ให้อยู่ในสัดส่วนที่เหมาะสม
3. ความเสี่ยงจากการมียอดขายที่มาจากสินค้าหลักเพียงไม่กี่แบรนด์ เพิ่มศักยภาพทีมงานวิจัยและพัฒนาสินค้าใหม่  โดยการเสริมบุคลากรที่มีความรู้  ความเชี่ยวชาญ  พร้อมกับการส่งไปดูงานหาความรู้ด้านการพัฒนาสินค้าใหม่ๆ
4. ความเสี่ยงจากการไม่ได้รับการต่ออายุสัญญาตัวแทนจัดจำหน่ายสินค้า 
5. ความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาและปริมาณวัตถุดิบ แนวทางการป้องกันหรือการรับมือ  
  • สรรหาแหล่งวัตถุดิบใหม่เพิ่มขึ้น
  • พัฒนาสินค้าใหม่ใช้วัตถุดิบทางทะเลในสัดส่วนที่น้อยลง
  • ผลิตสินค้าใหม่ ประเภทอาหารสัตว์เลี้ยงให้มีความหลากหลายของวัตถุดิบ เช่น Beef, Chicken, Lamb, Vegetable ที่มีมาตรฐานเทียบเท่า Human grade สามารถสืบย้อนกลับได้ เพื่อเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มขึ้น
  • มีการซื้อขายล่วงหน้าในระยะสั้น 3 เดือน และเก็บสต็อคสินค้าเพิ่มขึ้นในช่วงที่คาดการณ์ว่าจะขาดแคลน
6. ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน
7.  ความเสี่ยงจากการพึ่งพิงลูกค้ารายใหญ่และตลาดส่งออกในประเทศญี่ปุ่น
8. ความเสี่ยงจากข้อตกลงทางการค้าและกฎระเบียบที่เข้มงวดมากขึ้น

Fact sheet from set.or.th
website investor relations

ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

HUMAN (ฮิวแมนนิก้า)

NETBAY (เน็ตเบย์)